แผนเผชิญเหตุรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

กรณีที่ 1 พบผู้เรียนติดเชื้อในสถานศึกษา ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

1. คัดกรอง วัดไข้ สังเกตอาการ ผู้เรียนทุกคนก่อนเข้าสถานศึกษา

2. เมื่อพบกลุ่มเสี่ยง แยกกลุ่มเสี่ยงจากกลุ่มผู้เรียน ผู้สอน

3. จัดให้มีการตรวจหาเชื้อเบื้องต้นโดยวิธีการที่เหมาะสม และมีการสุ่มตรวจเป็นระยะ ๆ หากการตรวจ
มีผลเป็นบวก ให้สถานศึกษาจัดให้ผู้เรียนได้ตรวจ Real-time PCR โดยร่วมมือจัดการผู้ติดเชื้อ ได้แก่ การเคลื่อนย้าย
ผู้ติดเชื้อตามมาตรฐานควบคุม และมาตรการของจังหวัด

4. สถานศึกษาประสานแจ้งผู้ปกครอง

5. หากตรวจ Real-time PCR แล้วได้ผลเป็นบวก กรณีที่ผู้เรียนไม่สามารถจัดหาสถานพยาบาลรักษาได้ให้สถานศึกษาประสานจัดหาให้ผู้เรียนได้เข้ารับการรักษา

6. ร่วมมือจัดการสอบสวนโรคและการจัดการกลุ่มสัมผัสในสถานศึกษา

1) ผู้สัมผัสกลุ่ม High risk ให้ดำเนินการตรวจหาเชื้อเบื้องต้นโดย Antigen Test Kit (ATK)

2) ผู้สัมผัสกลุ่ม Low risk ไม่ต้องเก็บตัวอย่าง แต่ให้แยกตัวอยู่ที่บ้าน และรายงานอาการ (Self-report) ทุกวัน หากพบว่ามีอาการเข้าเกณฑ์ PUL ให้ดำเนินการแบบผู้ป่วย PUL

7. สถานศึกษาปิดเพื่อทำความสะอาดเป็นระยะเวลา 3 วัน (ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงฝึกงาน อาคารเรียน โรงอาหาร โรงนอน พื้นที่ส่วนกลาง)

8. สถานศึกษาจัดให้ผู้เรียนที่ติดเชื้อได้เรียนโดยวิธีการที่เหมาะสม เช่น การเรียนแบบออนไลน์
(On-line) การเรียนรู้เพิ่มเติมตามความต้องการของผู้เรียน การศึกษาจากแบบเรียน ใบความรู้ หรือการทำ
ใบกิจกรรม ใบงาน และการบ้านที่ครูมอบหมายให้ผู้เรียนเข้าถึงการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยครูที่ปรึกษาเป็นผู้ประสาน ติดตาม และรายงานการเรียนให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาทราบ

9. หากผู้เรียนหายจากการติดเชื้อ ให้มีการกักตัวอีก 14 วัน ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข
โดยสถานศึกษาประสานติดตามผู้เรียนตลอดช่วงเวลาการกักตัว หากครบตามระยะเวลาที่กำหนดไม่พบมีการ
ติดเชื้อให้ผู้เรียนกลับเข้าเรียนในสถานศึกษาตามปกติ

10. การประเมินความเสี่ยง (TST) จำแนกตามเขตพื้นที่แพร่ระบาด

(1) 1 วัน ต่อสัปดาห์ พื้นที่เฝ้าระวัง (สีเขียว) และพื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง)

(2) 2 วัน ต่อสัปดาห์ พื้นที่ควบคุม (สีส้ม)

(3) 3 วัน ต่อสัปดาห์ พื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง)

(4) ทุกวัน พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม)

กรณีที่ 2 พบผู้เรียนติดเชื้อเมื่อการฝึกอาชีพ/การฝึกประสบการณ์สมรถนะวิชาชีพในสถานประกอบการ ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

1. สถานประกอบการคัดกรอง วัดไข้ สังเกตอาการ ทุกคนก่อนเข้าสถานประกอบการ

2. เมื่อพบกลุ่มเสี่ยง แยกกลุ่มเสี่ยงจากกลุ่มผู้ร่วมฝึกอาชีพ

3. สถานประกอบการประสานแจ้งสถานศึกษา สถานศึกษาดำเนินการแจ้งผู้ปกครอง

4. สถานศึกษาจัดให้มีการตรวจหาเชื้อเบื้องต้นโดยวิธีการที่เหมาะสม และมีการสุ่มตรวจเป็นระยะ ๆ หากการตรวจมีผลเป็นบวกให้สถานศึกษาจัดหาให้ผู้เรียนได้ตรวจ Real-time PCR โดยร่วมมือจัดการผู้ติดเชื้อ ได้แก่ การเคลื่อนย้ายผู้ติดเชื้อตามมาตรฐานควบคุม และมาตรการจังหวัด

5. หากตรวจ Real-time PCR แล้วได้ผลเป็นบวก กรณีที่ผู้เรียนไม่สามารถจัดหาสถานพยาบาลรักษาได้ให้สถานศึกษาประสานจัดหาให้ผู้เรียนได้เข้ารับการรักษา

6. หากผู้เรียนหรือผู้ปกครอง มีความประสงค์กลับไปรักษาที่ภูมิลำเนา ให้ดำเนินการกักตัวตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข

7. ร่วมมือจัดการสอบสวนโรคและการจัดการกลุ่มสัมผัสในสถานประกอบการ

1) ผู้สัมผัสกลุ่ม High risk ให้ดำเนินการตรวจหาเชื้อเบื้องต้นโดย Antigen Test Kit (ATK)

2) ผู้สัมผัสกลุ่ม Low risk ไม่ต้องเก็บตัวอย่าง แต่ให้แยกตัวอยู่ที่บ้าน และรายงานอาการ (Self-report)
ทุกวัน หากพบว่ามีอาการเข้าเกณฑ์ PUL ให้ดำเนินการแบบผู้ป่วย PUL

8. วางแผนการจัดการฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพร่วมกับสถานประกอบการ โดยสถานศึกษาและสถานประกอบการจัดให้ผู้เรียนที่ติดเชื้อได้เรียนโดยวิธีการที่เหมาะสม เช่น ใบความรู้ การทำใบกิจกรรม ใบงาน ตามที่สถานประกอบการมอบหมายให้ผู้เรียนเข้าถึงการฝึกอาชีพ/การฝึกประสบการณ์สมรถนะวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ โดยครูที่ปรึกษาเป็นผู้ประสาน ติดตาม และรายงานการเรียนให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาและ
สถานประกอบการทราบ

9. หากผู้เรียนหายจากการติดเชื้อ ให้มีการกักตัวอีก 14 วัน ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข
โดยสถานศึกษาประสานติดตามผู้เรียนตลอดช่วงเวลาการกักตัว หากครบตามระยะเวลาที่กำหนดไม่พบมีการ
ติดเชื้อให้ผู้เรียนกลับเข้ารับการฝึกอาชีพ/การฝึกประสบการณ์สมรถนะวิชาชีพ ในสถานประกอบการตามปกติหรือสถานศึกษามอบหมายงานในลักษณะชิ้นงาน/โครงงาน แทนการฝึกอาชีพ/การฝึกประสบการณ์สมรถนะวิชาชีพในสถานประกอบการ ที่เหมาะสมให้แก้ผู้เรียน

 

กรณีที่ 3 พบผู้เรียนติดเชื้อในที่พักอาศัย ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

1. ผู้เรียนดำเนินการแจ้งสถานศึกษาทราบ

2. ผู้เรียนดำเนินการตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข

3. ครูประจำชั้นช่วยประสานสถานพยาบาลเข้ารับการรักษากรณีผู้เรียนไม่สามารถประสานหาสถานพยาบาลเข้ารับการรักษาได้ และติดตาม สอบถามผลการรักษาของผู้เรียนตลอดการรักษาโรค

4. สถานศึกษาตรวจสอบ Time Line การมาเรียนของผู้เรียน เพื่อคัดกรองผู้มีความเสี่ยง

5. ร่วมมือจัดการสอบสวนโรคและการจัดการกลุ่มสัมผัสในสถานศึกษา

1) ผู้สัมผัสกลุ่ม High risk ให้ดำเนินการตรวจหาเชื้อเบื้องต้นโดย Antigen Test Kit (ATK)

2) ผู้สัมผัสกลุ่ม Low risk ไม่ต้องเก็บตัวอย่าง แต่ให้แยกตัวอยู่ที่บ้าน และรายงานอาการ (Self-report) ทุกวัน หากพบว่ามีอาการเข้าเกณฑ์ PUL ให้ดำเนินการแบบผู้ป่วย PUL

5. สถานศึกษาปิดเพื่อทำความสะอาดเป็นระยะเวลา 3 วัน (ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงฝึกงาน อาคารเรียน โรงอาหาร โรงนอน พื้นที่ส่วนกลาง) และลดความแออัด เมื่อพบว่าผู้เรียนเข้ามาในพื้นที่สถานศึกษา

7. สถานศึกษาจัดให้ผู้เรียนที่ติดเชื้อได้เรียนโดยวิธีการที่เหมาะสม เช่น การเรียนแบบออนไลน์
(On-line) การเรียนรู้เพิ่มเติมตามความต้องการของผู้เรียน การศึกษาจากแบบเรียน ใบความรู้ หรือการทำ
ใบกิจกรรม ใบงาน และการบ้านที่ครูมอบหมายให้ผู้เรียนเข้าถึงการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยครูที่ปรึกษาเป็นผู้ประสาน ติดตาม และรายงานการเรียนให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาทราบ

8. หากผู้เรียนหายจากการติดเชื้อ ให้มีการกักตัวอีก 14 วัน ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข

โดยสถานศึกษาประสานติดตามผู้เรียนตลอดช่วงเวลาการกักตัว หากครบตามระยะเวลาที่กำหนดไม่พบมีการติดเชื้อให้ผู้เรียนกลับเข้าเรียนในสถานศึกษาตามปกติ

 

กรณีที่ 4 ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ประกาศห้ามการใช้อาคารหรือสถานที่ของโรงเรียนและสถาบันการศึกษาทุกประเภทเพื่อจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการกิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากทำให้เสี่ยงต่อการแพร่โรค เว้นแต่การใช้เป็นที่เอกเทศตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

1. สถานศึกษาเตรียมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสม ดังนี้

1) การเรียนแบบออนไลน์ (On-line) เรียนผ่านช่องทางการสอนออนไลน์/สื่อออนไลน์ ทีวีดิจิทัล Video Conference หรือ Platform ต่าง ๆ เช่น Platform DEEP , Zoom , Microsoft Team , Google Meet เป็นต้น โดยสถานศึกษาดำเนินการจัดการเรียนการสอนเอง

2) การเรียนรู้เพิ่มเติมตามความต้องการของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้
ตามที่ต้องการ ในการเลือกหัวข้อ และระยะเวลาได้ด้วยตนเองแบบเฉพาะเจาะจงได้ผ่าน R-Radio Channel หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสถานศึกษา

3) การเรียนรูปแบบอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับผู้เรียน

สถานศึกษาสามารถออกแบบวิธีการจัดการเรียนรู้ได้ตามความเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา โดยการเรียนรู้แบบผสมผสาน ซึ่งรูปแบบการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวต้องสอดคล้องตามแนวทางการจัดการเรียนการสอน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเช่น การจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ การศึกษาจากแบบเรียน ใบความรู้ หรือการทำใบกิจกรรม ใบงาน และ การบ้านที่ครูมอบหมาย

แหล่งที่มา https://www.vec.go.th/ข่าว/ข่าวประชาสัมพันธ์/รายละเอียดข่าวประชาสัมพันธ์/tabid/6276/ArticleId/37351/language/th-TH/-2019-COVID-19-160-160.aspx